ตรายาง เป็นงานประดิษฐ์ ที่ใช้หมึกหรือสีให้เกิดภาพหรือลวดลายจากแม่พิมพ์ ที่อาจเป็นการแกะสลัก การแกะด้วยเลเซอร์ หรือการหล่อโลหะขึ้นมา ให้เกิดบนแผ่นยางแม่แบบ ยางจะติดผนึกกับบนสิ่งที่แข็งแรงอย่างไม้ หิน บล็อกอะคริลิกที่เป็นสิ่งที่แข็งแรงกว่า ตรายางที่มีหมึก ส่วนมากจะใช้กดทับลงบนกระดาษหรือผ้า
ประเภทของตรายางโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ตรายางสำเร็จรูป
เป็นตรายางที่มีการออกมาสำเร็จรูป มีราคาถูกกว่า เพราะออกแบบครั้งแรกครั้งเดียว ไม่ต้องออกแบบทุกครั้งเมื่อสั่งทำตรายาง ทำได้ครั้งละจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนต่ำ มีด้วยกัน 2 แบบ
- แบบตรายางด้ามธรรมดา ใช้กันเยอะมากเพราะสะดวกและราคาไม่แพง ใช้คู่กับถาดหมึกปกติ เป็นด้ามไม้หรือด้ามพลาสติกก็ได้
- แบบด้ามหมึกในตัว เป็นตรายางสำเร็จรูปที่สะดวกต่อการพกพา และมีต้นทุนสูงกว่า
ข้อดี คือราคาถูก
ข้อเสีย คือ มีรูปแบบและข้อความจำกัด เฉพาะที่นิยมใช้กันทั่วไป
2. ตรายางสั่งทำ
2.1 แบบด้ามธรรมดา
เป็นตรายางที่มีการใช้งานคู่กับแท่นหมึกตรายาง ด้ามผลิตจากวัสดุพลาสติกโพลิเมอร์ ซึ่งมีความทนทาน เหนียว และแข็งแรง เนื้อยางหล่อจากยางเรซิ่น มีความคมชัดสูง สามารถหล่อได้อย่างรวดเร็ว
เป็นตรายางแบบดั้งเดิม ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน แต่เดิมเนื้อยางจะเป็นยางธรรมชาติ ออกมามีลักษณะเป็นแผ่นสีเทา ก่อนที่จะเกิดตรายางในรูปแบบที่ผลิตจากยางสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น ไนล่อน เรซิ่น ฯลฯ ที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมนำมาใช้ทดแทนตรายางธรรมชาติกัน
- ข้อดี มีความทนทาน ใช้งานได้นาน โดยเฉพาะถ้าเป็นเนื้อยางธรรมชาติ จะสึกหรอช้ากว่า ยางสังเคราะห์และเรซิ่น
- ข้อเสีย ไม่สะดวกต่อการพกพา เพราะต้องใช้คู่กับแท่นหมึก
ตรายางหมึกในตัว แบบ Flash Stamp หรือ Dura Stamp
เป็นตรายางชนิดหมึกในตัว ไม่ต้องใช้จานหมึก เนื้อยางผลิตจากแผ่นโฟมซับหมึก ใช้การพิมพ์แบบบนกระดาษไข แล้วนำกระดาษไขไปอัดกับแผ่นโฟมตรายาง ทำให้ได้ภาพบนตรายางที่คมชัดมากกว่า ก้อนยางนิ่ม ซับน้ำหมึกได้ดี มีความคมชัดสูง
ขั้นตอนการผลิตคร่าว ๆ ก็คือนำแผ่นโฟมที่ใช้เฉพาะในการทำตรายางไปสร้างแบบ จากนั้นจึงเอาไปแช่น้ำหมึกแล้วประกอบเข้าบล๊อคตรายาง ตรายางที่ได้จากการแช่น้ำหมึกจะใช้ได้ประมาณ 2,000-3,000 กว่าครั้งจากนั้นก็นำมาเติมใหม่ได้เรื่อย ๆคล้ายกับปากกาหมึกซึม ตรายางชนิดนี้ราคาจะเริ่มต้นที่ประมาณ 200 บาท
- ข้อดี คือ มีความคมชัดสูง ซับน้ำหมึกได้ดี
- ข้อเสีย คือ หากไม่ได้ใช้งานสม่ำเสมอ น้ำหมึกจะไหลมากองลงมาที่หน้าสัมผัสเยอะ ซึ่งสามารถแก้ไขด้วยวิธีการประทับใส่กระดาษเสียทิ้งไปประมาณ 2-3 ครั้ง ตรายางก็จะกลับมาสะอาดเหมือนเดิม